นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า "รถจักรยานยนต์ประเภทรถแบบครอบครัว นับเป็นกลุ่มรถประเภทหลักของตลาดที่มีอัตราการเติบโตลดลงน้อยที่สุด สาเหตุหนึ่งคงเนื่องจากรถในกลุ่มประเภทนี้มีคุณสมบัติเด่นด้านความประหยัด สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และจากแนวโน้มของสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตลดลงในขณะนี้ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้รถประเภทนี้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการที่ค่ายผู้นำตลาดอย่างรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่มีจุดแข็งด้านรถครอบครัว ได้นำฮอนด้าในตระกูลเวฟเป็นเรือธงเข้าสู่ตลาดเพื่อเอาชนะใจผู้บริโภคจนมียอดจดทะเบียนขึ้นในอันดับหนึ่งมาตลอดตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมนี้รถครอบครัวตระกูลเวฟระบบหัวฉีดในรุ่น Wave110i ก็ยึดครองความเป็นอันดับหนึ่งไปตามคาดการณ์ และจะเป็นโมเดลสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้สัดส่วนตลาดของรถแบบครอบครัวมีการขยายตัวมากขึ้น ทั้งนี้หากวิเคราะห์ถึงเหตุผลของการตอบรับที่ดี ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจ และมีความต้องการในรถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบการจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด โดยพิจารณาได้จากยอดจดทะเบียนสะสมของรถระบบนี้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนของรถจักรยานยนต์ระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีดทั้งตลาดจากต้นปีที่มีเพียง 23% มาสู่ยอดตัวเลขเดือนตุลาคมนี้ที่ 47% ในขณะที่รถจักรยานยนต์ระบบหัวฉีดของทุกค่ายผู้ผลิตนั้นมีปริมาณยอดจดทะเบียนรวมกันอยู่ที่ 518,602 คัน"
สำหรับรายงานตลาดรถจักรยานยนต์ คิกออฟไตรมาสที่ 4 ของปีเดือนตุลาคม ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียน 119,918 คัน โดยปริมาณยอดจดทะเบียนในเดือนนี้ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวที่ยังคงได้รับความนิยมสุงสุดเช่นเคย ด้วยปริมาณตัวเลข 59,550 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 50% ในขณะที่รถแบบ เอ.ที มีปริมาณ 55,007 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 46%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 2,831 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 881 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 1,649 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1% สำหรับปริมาณยอดจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 ถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกันอยู่ที่ 1,257,919 คัน ลดลง 14% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าสัดส่วนการเติบโตโดยรวมจะลดลง แต่เป็นการลดลงในภาวะชะลอตัวเฉกเช่นเดียวกับทิศทางของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามจากมาตรการการส่งเสริมการอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาลและเอกชนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ช่วยสนับสนุนให้รถครอบครัวสุดประหยัดรุ่น "ฮอนด้า เวฟ 110 ไอ" ครอบแชมป์ความเป็นอันดับ 1
ส่วนทางด้านรถจักรยานยนต์ประเภทครอบครัวในตระกูลฮอนด้าเวฟที่ได้รับความนิยมตลาดกาลสูงสุด เดือนตุลาคมมีปริมาณยอดจดทะเบียนเป็นอันดับหนึ่งของเดือนที่ 44,346 คัน โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์รุ่น "ฮอนด้าเวฟ 110 ไอ ที่ 26,715 คัน", "ฮอนด้า เวฟ 100 ที่ 9,911 คัน", "ฮอนด้าเวฟ 125 ไอ ที่ 3,632 คัน" และ "ฮอนด้าเวฟ ซี่รีย์อื่นๆ อย่าง R, S, X, และ Z ที่ 4,088 คัน"
ทั้งนี้ สำหรับเดือนแห่งการเริ่มต้นตลาดในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ นอกจากกระแสความนิยมของรถแบบครอบครัวอย่างฮอนด้าเวฟ 110 ไอ ที่ครองความเป็นอันดับหนึ่งแล้ว สำหรับรถจักรยานยนต์ในรุ่นอื่นๆ อย่างกระแสของรถแบบ เอ.ที อย่างรถรุ่นใหม่ "ฮอนด้า สกู๊ปปี้ ไอ" ที่เพิ่งทำการเปิดตัวไปเพียงหนึ่งเดือน ก็กระโดดก้าวขึ้นเป็นรถรุ่นใหม่ยอดนิยมที่ไต่อันดับขึ้นชาร์ตเป็น New Entry ของเดือนตุลาคมนี้ ตามกระแสความโด่งดังของรถรุ่นพี่อย่างฮอนด้า คลิก ที่สามารถดันยอดจำหน่ายสะสมที่มีมาตั้งแต่ปี 2006 ทะลุเกิน 1,000,000 คัน เป็นรถจักรยานยนต์แบบ เอ.ที. รายแรกของประเทศไทยที่ทุบสถิติดังกล่าวนี้ พร้อมด้วยการแนะนำ ฮอนด้า คลิก ไอ ลายใหม่ออกมาเขย่าความแรงของตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ค่ายผู้นำอย่างรถจักรยานยนต์ฮอนด้ายังเตรียมแผนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์สุดยอดแห่งความภาคภูมิใจของชาวไทยกับยนตกรรมระดับเวิล์ดคลาส ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสุดล้ำหน้ารุ่นใหม่ล่าสุดใน Honda PCX เป็นที่แรกของโลกในเดือนธันวาคม พร้อมทั้งเป็นครั้งแรกของรถจักรยานยนต์ที่จะขับขี่ความหรูหราเข้าอวดโฉมในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 26 (The 26th Thailand International Motor Expo 2009) ในวันที่ 3-13 ธันวาคม 2552 ที่จะถึงนี้
สำหรับรายละเอียดของยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนกระทั่งถึงสิ้นเดือนตุลาคม รถจักรยานยนต์ประเภทครอบครัวครองความเป็นรถยอดนิยมตลอดกาล ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนที่มากถึง 620,564 คันเทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% ในขณะที่ค่ายฮอนด้าที่เป็นผู้นำตลาดนั้น มีอัตราครองตลาดในกลุ่มรถประเภทนี้ถึง 84% ส่วนรถประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนตุลาคม ดังนี้ คือ รถแบบ เอ.ที มีปริมาณ 585,659 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 30,768 คัน สัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 9,604 คัน สัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 11,324 คัน สัดส่วนตลาด 1%
ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 826,269 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 66%, ยามาฮ่า 354,846 คัน อัตราครองตลาด 28%, ซูซูกิ 53,164 คัน อัตราครองตลาด 4%, คาวาซากิ 11,762 คัน อัตราครองตลาด 1%, เจอาร์ดี 1,436 คัน, แพล็ตตินั่ม 856 คัน, ไทเกอร์ 851 คัน และอื่นๆ 8,735 คัน
เพิ่มเติม http://www.aphonda.co.th/
Tidak ada komentar:
Posting Komentar