พนักงานคาวาซากิ หยุดงานประท้วงนายจ้าง เหตุลดค่าใช้จ่าย หยุดวันเสาร์ แล้วให้ทำงานวันธรรมดาเพิ่ม ถือเป็นการเอาเปรียบพนักงาน ขณะที่โรงงานเผยต้องการลดค่าใช้จ่าย แทนการเลิกจ้าง และทำตามระเบียบแรงงาน พร้อมเรียกร้องให้พนักงานกลับเข้าทำงาน ขณะที่ช่วงนี้หาทางจ้างบริษัทภายนอกผลิตป้อนตลาด
แหล่งข่าวจากบริษัท คาวาซากิมอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประท้วงของพนักงานของโรงงานคาวาซากิ ที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2552ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าทั้งบริษัทและพนักงานบริษัทยังไม่สามารถตกลงในเรื่องข้อเรียกร้องต่างๆระหว่างกันได้ โดยขณะนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการต่อรองในเงื่อนไขต่างๆ โดยหวังว่าจะทำให้เกิดความเรียบร้อยและสามารถดำเนินกิจกรรมการผลิตได้ต่อไป โดยผลจากการประท้วงครั้งนี้ ทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับพนักงานและโรงงาน
การประท้วงดังกล่าว เกิดจากการที่บริษัทได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายในทุกๆด้าน อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้ยอดขายและการผลิตลดลง ซึ่งในมาตรการต่างๆที่ออกมานั้น ทำให้เกิดความไม่พอใจกับสหภาพและพนักงานบางส่วน
สำหรับบริษัท คาวาซากิมอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม จี เค แลนด์ หมู่ 4 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เป็นโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อป้อนตลาดในประเทศและส่งออก
"เศรษฐกิจซบเซา ทำให้เราหาทางออกด้วยการลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน เพื่อรักษาพนักงานไว้ จึงได้มีมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ สาธารณูปโภค และให้มีการหยุดงานในวันเสาร์ และให้ทำงานในวันธรรมดาเพิ่มวันละครึ่งชั่วโมง ซึ่งตรงนี้ทำให้รายได้ค่าโอที ของพนักงานหดหายไปจำนวนหนึ่ง จึงเกิดความไม่พอใจและพนักงานก็เข้าใจว่าเป็นการทำงานฟรี โดยไม่ได้ค่าแรง ซึ่งทางเราก็ได้ชี้แจงรายละเอียด แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปกันได้" แหล่งข่าวกล่าวและว่า
สำหรับการหยุดงานของพนักงานฝ่ายผลิต ทำให้โรงงานต้องหยุดไลน์การผลิตระยะหนึ่งและต่อมาก็ได้มีการจ้างพนักงานจากบริษัทภายนอกมาทดแทนแรงงานเดิม เพื่อให้ไลน์การผลิตดำเนินต่อไป พร้อมกันนี้ก็ได้เรียกร้องให้พนักงานเดิมกลับเข้ามาทำงาน โดยไม่มีการใช้มาตรการรุนแรงกับพนักงาน
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า พนักงานคาวาซากิ จำนวน 300 คน นำโดยนายประทวน ผจญ ประธานกรรมการสหภาพแรงงานคาวาซากิยานยนต์แห่งประเทศไทย ได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดระยอง เพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดได้ช่วยเหลือ โดยมีนายอุทาร ชวเมธี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง มารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว
ทั้งนี้สหภาพได้ชี้แจงว่า ได้รับความเดือดร้อนถูกนายจ้างขู่บังคับให้ลงชื่อยินยอมทำงานเพิ่มขึ้นอีกวันละครึ่งชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยได้ชี้แจงว่า บริษัทได้แจ้งให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 52 เป็นต้นไป บริษัทจะประกาศเปลี่ยนแปลงวันเวลาการทำงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 30 นาที โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของสหภาพแรงงาน และพนักงาน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่ส่งผลกระทบกับพนักงานโดยตรง และทำให้พนักงานเสียสิทธิประโยชน์ และหากพนักงานทนสภาพการทำงานไม่ไหวจะขอกลับมาใช้สภาพการจ้างงานเดิม บริษัทก็ไม่ยินยอม และทำการลงโทษพนักงานอย่างต่อเนื่อง
ให้รับข้อเรียกร้องทางพนักงานที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้ช่วยเหลือ 4 ข้อคือ 1. ให้บริษัทกลับไปใช้สภาพการจ้างเดิมทุกประการ 2. ให้รับคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ทั้ง 11 คน กลับเข้าทำงานตามเดิม 3. ให้ ยกเลิกการลงโทษพนักงานที่มีผลผูกพันมาจากการออกประกาศของบริษัท ทุกคน และ4. ให้ยุติการดำเนินการใดๆ ที่เป็นที่แทรกแซง ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงานฯ
เพิ่มเติม http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3924411&issue=2441
แหล่งข่าวจากบริษัท คาวาซากิมอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประท้วงของพนักงานของโรงงานคาวาซากิ ที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน จนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2552ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าทั้งบริษัทและพนักงานบริษัทยังไม่สามารถตกลงในเรื่องข้อเรียกร้องต่างๆระหว่างกันได้ โดยขณะนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการต่อรองในเงื่อนไขต่างๆ โดยหวังว่าจะทำให้เกิดความเรียบร้อยและสามารถดำเนินกิจกรรมการผลิตได้ต่อไป โดยผลจากการประท้วงครั้งนี้ ทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับพนักงานและโรงงาน
การประท้วงดังกล่าว เกิดจากการที่บริษัทได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายในทุกๆด้าน อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้ยอดขายและการผลิตลดลง ซึ่งในมาตรการต่างๆที่ออกมานั้น ทำให้เกิดความไม่พอใจกับสหภาพและพนักงานบางส่วน
สำหรับบริษัท คาวาซากิมอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม จี เค แลนด์ หมู่ 4 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เป็นโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อป้อนตลาดในประเทศและส่งออก
"เศรษฐกิจซบเซา ทำให้เราหาทางออกด้วยการลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน เพื่อรักษาพนักงานไว้ จึงได้มีมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ สาธารณูปโภค และให้มีการหยุดงานในวันเสาร์ และให้ทำงานในวันธรรมดาเพิ่มวันละครึ่งชั่วโมง ซึ่งตรงนี้ทำให้รายได้ค่าโอที ของพนักงานหดหายไปจำนวนหนึ่ง จึงเกิดความไม่พอใจและพนักงานก็เข้าใจว่าเป็นการทำงานฟรี โดยไม่ได้ค่าแรง ซึ่งทางเราก็ได้ชี้แจงรายละเอียด แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปกันได้" แหล่งข่าวกล่าวและว่า
สำหรับการหยุดงานของพนักงานฝ่ายผลิต ทำให้โรงงานต้องหยุดไลน์การผลิตระยะหนึ่งและต่อมาก็ได้มีการจ้างพนักงานจากบริษัทภายนอกมาทดแทนแรงงานเดิม เพื่อให้ไลน์การผลิตดำเนินต่อไป พร้อมกันนี้ก็ได้เรียกร้องให้พนักงานเดิมกลับเข้ามาทำงาน โดยไม่มีการใช้มาตรการรุนแรงกับพนักงาน
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า พนักงานคาวาซากิ จำนวน 300 คน นำโดยนายประทวน ผจญ ประธานกรรมการสหภาพแรงงานคาวาซากิยานยนต์แห่งประเทศไทย ได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดระยอง เพื่อเรียกร้องให้ทางจังหวัดได้ช่วยเหลือ โดยมีนายอุทาร ชวเมธี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง มารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว
ทั้งนี้สหภาพได้ชี้แจงว่า ได้รับความเดือดร้อนถูกนายจ้างขู่บังคับให้ลงชื่อยินยอมทำงานเพิ่มขึ้นอีกวันละครึ่งชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยได้ชี้แจงว่า บริษัทได้แจ้งให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 52 เป็นต้นไป บริษัทจะประกาศเปลี่ยนแปลงวันเวลาการทำงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 30 นาที โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของสหภาพแรงงาน และพนักงาน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่ส่งผลกระทบกับพนักงานโดยตรง และทำให้พนักงานเสียสิทธิประโยชน์ และหากพนักงานทนสภาพการทำงานไม่ไหวจะขอกลับมาใช้สภาพการจ้างงานเดิม บริษัทก็ไม่ยินยอม และทำการลงโทษพนักงานอย่างต่อเนื่อง
ให้รับข้อเรียกร้องทางพนักงานที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้ช่วยเหลือ 4 ข้อคือ 1. ให้บริษัทกลับไปใช้สภาพการจ้างเดิมทุกประการ 2. ให้รับคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ทั้ง 11 คน กลับเข้าทำงานตามเดิม 3. ให้ ยกเลิกการลงโทษพนักงานที่มีผลผูกพันมาจากการออกประกาศของบริษัท ทุกคน และ4. ให้ยุติการดำเนินการใดๆ ที่เป็นที่แทรกแซง ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงานฯ
เพิ่มเติม http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3924411&issue=2441
Tidak ada komentar:
Posting Komentar